ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอล
ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอล
โปรตีน(%) 7.27 ,ไขมัน(%) 1.07, เยื่อใย(%)
35.72,เถ้า(%)11.89,ทราย(%)7.27
แร่ธาตุ(%)4.62
ความเป็นกรด-เบส (pH) 4.17
การเพิ่มคุณค่ากากมันสำปะหลังโดยการหมักด้วยยีสต์(Saccharomyces cerevisiae)
ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะการเป็นสารเสริมแหล่งโปรตีนที่ย่อยได้ดี
แหล่งของยีสต์ที่นำมาใช้มีทั้งได้มาจากการผลิตยีสต์เพื่อนำตัวยีสต์มาใช้โดยตรงและยีสต์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรม
ยีสต์ที่ผลิตเพื่อนำมาใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์
มีการนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆดังนี้
- ยีสต์มีชีวิต
นำมาใช้ในอาหารสัตว์เพื่อเป็นแหล่งของโปรไบโอติค
โดยมีคุณสมบัติส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารสัตว์ช่วยทำให้สัตว์มสุขภาพดี
- เซลล์ยีสต์
เป็นยีสต์ที่ไม่มีชีวิตใช้ในอาหารสัตว์เพื่อเป็นแหล่งของโปรตีนที่สัตว์สามารถย่อยได้ดี
สำหรับยีสต์ไม่ว่าจะเป็นยีสต์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตจะมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 40-50% โดยน้ำหนักแห้ง โปรตีนจากยีสต์นี้เรียกว่า Single Cell
Protien นอกจากโปรตีนแล้ว ยีสต์ยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต
กรดนิวคลีอิค เถ้า ไขมัน และ วิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบีรวม
- ยีสต์เอกซ์แทรค
เป็นสารที่ได้จากการสกัดของเหลวในเซลล์ยีสต์ มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล
มีสารส่วนประกอบหลักคือ โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์
ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารเป็นสารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหารและเป็นวัตถุดิบอาหารเสริมสุขภาพ
- ผนังเซลล์ยีสต์
ประกอบด้วยสารเบต้า-กลูแคน
มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันเซลล์ไมโคฟาจให้อยู่ตลอดเวลา
ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้สารเบต้า-กลูแคนยังนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
โดยไปเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์คอลลาเจนของผิวหนัง ลดการเกิดอนุมูลอิสระ
ยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) เป็นยีสต์ที่พบได้ในธรรมชาติโดยเป็นจุลินทรีย์พวก ยูคาริโอต
เซลล์ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม หรือรี สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหนอ S.
cerevisiae เป็นจุลินทรีย์หลักที่ใช้ในการผลิต
เอทานอลในระดับอุตสาหกรรมทั้งภายใน และต่างประเทศ ยีสต์
และผลิตภัณยีสต์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโภชนาการสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Sakine
et. al, 2011) เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในกระเพราะรูเมนให้ดีขึ้นและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ดังนั้นยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) จึงเป็นที่นิยมในการใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสำหรับใช้เป็นหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพสูง
เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน
วัสดุและวิธีการทำ
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
1.ยีสต์Saccharoyces cerevisiae 500 กรัม
2.น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
3.กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
4.ปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม
5.ซิลิเนียมและวิตามินรวม 1 ถุง (เเล้วแต่ยี่ห้อ อัตราส่วน 1 : 1000)
6.กากมันสดและหรือกากมันเอทานอล 1,000 กิโลกรัม
7.ถังน้ำ 200 ลิตร
8.ปั๊มอ๊อกซิเจน
9.บ่อซีเมนต์
10.พลาสติกคลุมบ่อซีเมนต์
11.น้ำสะอาด
3.กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
4.ปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม
5.ซิลิเนียมและวิตามินรวม 1 ถุง (เเล้วแต่ยี่ห้อ อัตราส่วน 1 : 1000)
6.กากมันสดและหรือกากมันเอทานอล 1,000 กิโลกรัม
7.ถังน้ำ 200 ลิตร
8.ปั๊มอ๊อกซิเจน
9.บ่อซีเมนต์
10.พลาสติกคลุมบ่อซีเมนต์
11.น้ำสะอาด
วิธีทำ
1.ทำหัวเชื้อยีสต์
นำถังใส่น้ำ 20 ลิตร ใส่น้ำตาลทรายลงไป 1 กิโลกรัม คนละลายให้เข้ากัน จากนั้นใส่ยีสต์ขนมปัง 500 กรัม คนละลายให้เข้ากัน
2.ถังใส่น้ำลงไป 50 ลิตร ใส่กากน้ำตาลลงไป 10 กิโลกรัม ซิลิเนียม 45 กรัม และปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม จากนั้นคนละลายให้เข้ากัน
3.น้ำเอาหัวเชื้อที่ผสมไว้เเล้ว(ข้อ1)มา เทลงผสมกับข้อ 2 คนให้เข้ากันและเปิดปั๊มออกซิเจน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเปิดทิ้งไว้ 30 นาที
3.นำยีสต์ที่ได้บ่มไว้ 30 นาที มาคลุกเคล้ากับกากมันสดและหรือกากเอทานอล จำนวน 1,000 กิโลกรัม หมักบ่มไว้ในบ่อซีเมนต์ใช้พลาสติกปิดคลุมให้มิดชิด เป็นเวลา 15 วัน เเล้วจึงนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เราจะได้โปรตีนจากการหมัก 12-15%(หมัก15วัน),20-25%(หมัก21วัน)
2.ถังใส่น้ำลงไป 50 ลิตร ใส่กากน้ำตาลลงไป 10 กิโลกรัม ซิลิเนียม 45 กรัม และปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม จากนั้นคนละลายให้เข้ากัน
3.น้ำเอาหัวเชื้อที่ผสมไว้เเล้ว(ข้อ1)มา เทลงผสมกับข้อ 2 คนให้เข้ากันและเปิดปั๊มออกซิเจน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเปิดทิ้งไว้ 30 นาที
3.นำยีสต์ที่ได้บ่มไว้ 30 นาที มาคลุกเคล้ากับกากมันสดและหรือกากเอทานอล จำนวน 1,000 กิโลกรัม หมักบ่มไว้ในบ่อซีเมนต์ใช้พลาสติกปิดคลุมให้มิดชิด เป็นเวลา 15 วัน เเล้วจึงนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เราจะได้โปรตีนจากการหมัก 12-15%(หมัก15วัน),20-25%(หมัก21วัน)
ตารางที่ 1
คุณค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์พบว่ากากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์มีการสูญเสียวัตถุแห้ง
เกิดจากการที่เชื้อจุลินทรีย์มีการใช้แหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนภายในกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลไปเป็นอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต
กากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์มีโปรตีนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โดยมีปริมาณโปรตีนอยู่ในช่วง 12.26 – 18.40 เปอร์เซ็นต์
ตารางที่ 2 การย่อยได้ของกากมันสำปะหลังจากกรผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ
การหมักกากมันสำปะหลังจากโรงงานผลิตเอทานอลด้วยจุลินทรีย์ต่างๆสามารถเพิ่มปริมาณการย่อยได้วัตถุแห้งและอินทรียวัตถุและสามารถทำให้ค่าการย่อยได้โปรตีนเพิ่มขึ้น (ประพัฒน์, 2559)
ประโยชน์ของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยยีสต์ ในอาหารโคนม
1. เพิ่มการย่อยได้ของโปรตีนดิบ CP และ NDF ให้ดีขึ้น
2.สามารถเพิ่มการกินได้ และ อัตราการการเจริญเติบโต
3.เพิ่มผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบของน้ำนม
จัดทำโดย
นางสาวเกวลี ใจพินิจ B5850945 (ผู้มีความสำเร็จ)
นางสาวปวิตรา ปิยะไพร B5851027 (บริสุทธิ์)
นางสาวอริสรา ชัยวิชา B5851355 (เป็นใหญ่เหนือศัครู)
นางสาวณัฏฐณิชา จันไทย B5853649 (ผู้ทรงไว้ซึ่งความฉลาดและบริสุทธิ์)