วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กากเอทานอลหมักด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในสูตรอาหารโคนม





ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอล


โปรตีน(%) 7.27 ,ไขมัน(%) 1.07เยื่อใย(%) 35.72,เถ้า(%)11.89,ทราย(%)7.27 แร่ธาตุ(%)4.62
ความเป็นกรด-เบส (pH) 4.17 

การเพิ่มคุณค่ากากมันสำปะหลังโดยการหมักด้วยยีสต์(Saccharomyces cerevisiae)


          ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการเป็นสารเสริมแหล่งโปรตีนที่ย่อยได้ดี แหล่งของยีสต์ที่นำมาใช้มีทั้งได้มาจากการผลิตยีสต์เพื่อนำตัวยีสต์มาใช้โดยตรงและยีสต์ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรม ยีสต์ที่ผลิตเพื่อนำมาใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ มีการนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆดังนี้
         - ยีสต์มีชีวิต นำมาใช้ในอาหารสัตว์เพื่อเป็นแหล่งของโปรไบโอติค โดยมีคุณสมบัติส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารสัตว์ช่วยทำให้สัตว์มสุขภาพดี
        - เซลล์ยีสต์ เป็นยีสต์ที่ไม่มีชีวิตใช้ในอาหารสัตว์เพื่อเป็นแหล่งของโปรตีนที่สัตว์สามารถย่อยได้ดี สำหรับยีสต์ไม่ว่าจะเป็นยีสต์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตจะมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 40-50% โดยน้ำหนักแห้ง โปรตีนจากยีสต์นี้เรียกว่า Single Cell Protien นอกจากโปรตีนแล้ว ยีสต์ยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต กรดนิวคลีอิค เถ้า ไขมัน และ วิตามินหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินบีรวม
        - ยีสต์เอกซ์แทรค เป็นสารที่ได้จากการสกัดของเหลวในเซลล์ยีสต์ มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีสารส่วนประกอบหลักคือ โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารเป็นสารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหารและเป็นวัตถุดิบอาหารเสริมสุขภาพ
        - ผนังเซลล์ยีสต์ ประกอบด้วยสารเบต้า-กลูแคน มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันเซลล์ไมโคฟาจให้อยู่ตลอดเวลา ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้สารเบต้า-กลูแคนยังนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยไปเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์คอลลาเจนของผิวหนัง ลดการเกิดอนุมูลอิสระ

        ยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) เป็นยีสต์ที่พบได้ในธรรมชาติโดยเป็นจุลินทรีย์พวก ยูคาริโอต เซลล์ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม หรือรี สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหนอ S. cerevisiae เป็นจุลินทรีย์หลักที่ใช้ในการผลิต เอทานอลในระดับอุตสาหกรรมทั้งภายใน และต่างประเทศ ยีสต์ และผลิตภัณยีสต์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโภชนาการสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Sakine et. al, 2011) เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในกระเพราะรูเมนให้ดีขึ้นและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ดังนั้นยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) จึงเป็นที่นิยมในการใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสำหรับใช้เป็นหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพสูง เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน 



วัสดุและวิธีการทำ


วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
1.ยีสต์Saccharoyces cerevisiae 500 กรัม
2.น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
3.กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
4.ปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม
5.ซิลิเนียมและวิตามินรวม 1 ถุง (เเล้วแต่ยี่ห้อ อัตราส่วน 1 : 1000)
6.กากมันสดและหรือกากมันเอทานอล 1,000 กิโลกรัม
7.ถังน้ำ 200 ลิตร
8.ปั๊มอ๊อกซิเจน
9.บ่อซีเมนต์
10.พลาสติกคลุมบ่อซีเมนต์
11.น้ำสะอาด

วิธีทำ
1.ทำหัวเชื้อยีสต์ นำถังใส่น้ำ 20 ลิตร ใส่น้ำตาลทรายลงไป 1 กิโลกรัม คนละลายให้เข้ากัน จากนั้นใส่ยีสต์ขนมปัง 500 กรัม คนละลายให้เข้ากัน
2.ถังใส่น้ำลงไป 50 ลิตร ใส่กากน้ำตาลลงไป 10 กิโลกรัม ซิลิเนียม 45 กรัม และปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัม จากนั้นคนละลายให้เข้ากัน
3.น้ำเอาหัวเชื้อที่ผสมไว้เเล้ว(ข้อ1)มา เทลงผสมกับข้อ 2 คนให้เข้ากันและเปิดปั๊มออกซิเจน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเปิดทิ้งไว้ 30 นาที
3.นำยีสต์ที่ได้บ่มไว้ 30 นาที มาคลุกเคล้ากับกากมันสดและหรือกากเอทานอล จำนวน 1,000 กิโลกรัม หมักบ่มไว้ในบ่อซีเมนต์ใช้พลาสติกปิดคลุมให้มิดชิด เป็นเวลา 15 วัน เเล้วจึงนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เราจะได้โปรตีนจากการหมัก 12-15%(หมัก15วัน),20-25%(หมัก21วัน)



ตารางที่ 1 คุณค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ

       ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์พบว่ากากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์มีการสูญเสียวัตถุแห้ง เกิดจากการที่เชื้อจุลินทรีย์มีการใช้แหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนภายในกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลไปเป็นอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต กากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์มีโปรตีนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีปริมาณโปรตีนอยู่ในช่วง 12.26 – 18.40 เปอร์เซ็นต์


ตารางที่ 2 การย่อยได้ของกากมันสำปะหลังจากกรผลิตเอทานอลที่หมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ

      การหมักกากมันสำปะหลังจากโรงงานผลิตเอทานอลด้วยจุลินทรีย์ต่างๆสามารถเพิ่มปริมาณการย่อยได้วัตถุแห้งและอินทรียวัตถุและสามารถทำให้ค่าการย่อยได้โปรตีนเพิ่มขึ้น (ประพัฒน์2559)


ประโยชน์ของกากมันสำปะหลังจากการผลิตเอทานอลที่หมักด้วยยีสต์ ในอาหารโคนม


1. เพิ่มการย่อยได้ของโปรตีนดิบ CP และ NDF ให้ดีขึ้น 
2.สามารถเพิ่มการกินได้ และ อัตราการการเจริญเติบโต
3.เพิ่มผลผลิตน้ำนมและองค์ประกอบของน้ำนม
          




จัดทำโดย 
        นางสาวเกวลี ใจพินิจ             B5850945 (ผู้มีความสำเร็จ)
        นางสาวปวิตรา ปิยะไพร         B5851027 (บริสุทธิ์)
        นางสาวอริสรา ชัยวิชา           B5851355 (เป็นใหญ่เหนือศัครู)
        นางสาวณัฏฐณิชา จันไทย     B5853649 (ผู้ทรงไว้ซึ่งความฉลาดและบริสุทธิ์)

กากเอทานอลหมักด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ในสูตรอาหารโคนม

ค่าโภชนะของกากมันสำปะหลังจากโรงงานเอทานอล โปรตีน(%) 7. 27 , ไขมัน(%) 1.07 ,  เยื่อใย(%) 35.72 , เถ้า(%)11.89 , ทราย...